Skip to content

TFPCComService

ทีเอฟพีซีคอมเซอร์วิส เราให้บริการซ่อมคอมพิวเตอร์ ปริ้นงาน เข้าเล่ม และบริการออกแบบเว็บไซต์

Archive

Archive for พฤษภาคม, 2011

ลักษณะทั่วไป

         ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึก ข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วน ที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์
         แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่น ดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบ บันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวน วงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์
         เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์สูงมากๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่ง ที่ใกล้ชิดกับผิวหน้าจานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่ เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก
           ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิทเพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้อง การเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้อง ออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
           ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อน ของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
          ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึก ข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วน ที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์ 
        จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน
        จากรูปแสดงฮาร์ดดิสค์ที่มีแผ่นจาน 2 แผ่น พร้อมการกำกับชื่อแผ่นและหน้าของดิสค์ ผิวของ แผ่นจานกับหัวอ่านเขียนจะอยู่เกือบชิดติดกัน คือห่างกันเพียงหนึ่งในแสนของนิ้ว และระยะห่างนี้ ในระหว่างแทร็กต่าง ๆ ควรสม่ำเสมอเท่ากัน ซึ่งกลไกของเครื่องและการประกอบฮาร์ดดิสค์ต้อง ละเอียดแม่นยำมาก การหมุนอย่างรวดเร็วของแผ่นจาน ทำให้หัวอ่านเขียนแยกห่างจากผิวจาน ด้วยแรงลมหมุนของจาน แต่ถ้าแผ่นจานไม่ได้หมุนหรือปิดเครื่อง หัวอ่านเขียนจะเลื่อนลงชิดกับ แผ่นจาน ดังนั้นเวลาเลิกจากการใช้งานเรานิยมเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังบริเวณที่ไม่ได้ใช้เก็บข้อมูล ที่เรียกว่า Landing Zone เพื่อว่าถ้าเกิดการกระแทรกของหัวอ่านเขียนและผิวหน้าแผ่นจานก็จะไม่มีผลต่อข้อมูลที่เก็บไว้
         ฮารด์ดิกส์เป็นอุปกรณ์ที่รวมเอาองค์ประกอบ ทั้งกลไกการทำงาน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์ นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอธิบายการทำงาน ของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่าย ภายในฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อต่างกันไป เมื่อผู้ใช้ พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แขนกลของฮาร์ดดิสก์ จะรอบรับคำสั่งและเคลื่อนที่ ไปยังส่วนที่ถูกต้องของ Platter เมื่อถึงที่หมายก็จะทำการอ่านข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์นั้น หัวอ่านจะอ่านข้อมูลแล้วส่งไปยัง ซีพียู จากนั้น ไม่นานข้อมูลที่ต้องการก็จะปรากฏ การทำงานเขียนอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิกส์ จะมีการทำงาน คล้ายกับการทำงาน ของของเทปคาสเซ็ท แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนา เพียง 2-3 ในล้านส่วนของนิ้ว แต่จะต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียง หัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่าน และเขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิกส์ ส่วนเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้ รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่า กับเป็นการเขียนข้อมูลลงบน ฮาร์ดดิสก์ การอ่านนั้น ก็จะเป็นการแปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กที่ได้บันทึก อยู่บนฮาร์ดิสก์กลับแล้วเพิ่ม สัญญาณและทำการ ประมวลผล ให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้งอีก

     จุดที่แตกต่าง กันของการเก็บข้อมูลระหว่าง ออดิโอเทปกับฮาร์ดดิสก์นั้นก็ คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สัญญาณ อนาล็อก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นจะ เก็บในรูป สัญญาณ ดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ฮาร์ดดิสก์ จะเก็บข้อมูลไว้ใน Track หรือ เส้นวงกลม โดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้ คือการที่หัวอ่าน สามารถเคลื่อนที่ ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดของ ฮาร์ดดิสก์ก็ได้ ไม่เหมือนกับเทปเพลงที่หากจะต้องการฟังเพลง ถัดไปเราก็ต้องกรอเทป ไปยังจุดเริ่มต้นของเพลงนั้น หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ นั้นสามารถบินอยู่เหนือพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลทันทีที่ได้รับตำแหน่งมาจากซีพียู ซึ่งการเข้า ถึงข้อมูลแบบสุ่มนี้เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์ สามารถแทนที่เทปในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถ เก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ถ้าหัวอ่านเขียนนั้นอยู่ทั้ง 2 ด้าน ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ที่ มีแพล็ตเตอร์ 2 แผ่นนั้นสามารถมีพื้นที่ในการ เก็บข้อมูลได้ถึง 4 ด้าน และมีหัวอ่านเขียน 4 หัวการเคลื่อนที่ของ หัวอ่านเขียนนี้จะมีการเคลื่อนที่ไปพร้อม ๆ กันโดยจะมีการเคลื่อนที่ที่ตรงกัน Track วงกลมนั้นจะถูกแบ่งออก เป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector การเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์นั้นจะเริ่มเขียนจากรอบนอกสุด ของฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นเมื่อข้อมูลใน Track นอกสุดถูกเขียนจนเต็มหัวอ่านก็จะเคลื่อนมายังแทร็กถัดมา ที่ว่างแล้วทำการเขียน ข้อมูลต่อไป ซึ่งก็ด้วยวิธีการนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงเป็นอย่างมากเพราะหัวอ่านเขียนสามารถบันทึกข้อ มูลได้มากกว่า ในตำแหน่งหนึ่งก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปยังแทร็คถัดไป

      ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีฮาร์ดดิสก์แบบ 4 แพล็ตเตอร์อยู่และหัวอ่านเขียนอยู่ที่แทร็ค 15 ไดร์ฟจะเขียนข้อมูลลงในแทร็ค 15 บนทั้ง 2 ด้านของ แพล็ตเตอร์ ทั้ง 4 จนเต็มจากนั้นจึงเคลื่อนเข้าไปหาที่แทร็ค 16 ต่อไป การหมุนของแพล็ตเตอร์นั้นนับได้ว่า เร็วมาก ความเร็วต่ำ สุดก็เท่ากับ 3,600 รอบต่อนาที และปัจจุบันสูงสุดนับหมื่นรอบ ซึ่งเป็นการทำงานที่เร็วกว่า ฟล็อบปี้ดิสก์หรือเทปมาก ด้วยความเร็วขนาดนี้ทำให้หัวอ่านเขียนขนาดเล็กสามารถลอยหรือบินอยู่เหนือพื้น ผิวได้หัวอ่านเขียนนั้นได้รับการ ออกแบบให้บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์ที่กำลังหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูงนี้ ในความสูงเพียง 3 ล้านส่วนของนิ้ว ซึ่ง เท่ากับว่าระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนและแพล็ตเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก กว่าเส้นผมของคนเราหรือแม้กระทั่งฝุ่นมาก หากเกิดการกระแทก อย่างรุนแรงขึ้นกับฮาร์ดดิสก์จนทำให้ หัวอ่านเขียนสัมผัสกับแผ่นแพล็ตเตอร์ก็จะทำให้พื้นผิว หรือหัวอ่านเขียน เกิดการเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิด ปัญหาข้อมูลเสียหาย หรือถ้าโชคร้ายก็คือฮาร์ดดิสก์พังอย่างแก้ไข ไม่ได้ อย่างไรก็ตามปัญหานี้มักจะไม่เกิด กับฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการ ผลิตที่สูงขึ้นและได้รับการป้องกัน เป็นอย่างดีโดยถูกสร้าง ให้สามารถ รับแรงกระแทกได้สูงถึง 70-100 เท่าของ แรงดึงดูด (70-100G)

การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
     การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นมีลักษณะเดียวกับแผนที่ ข้อมูลจะถูกจักเก็บไว้ในแทร็คบนแพล็ตเตอร์ ดิสก์ไดร์ฟทั่ว ๆ ไปจะมีแทร็คประมาณ 2,000 แทร็คต่อนิ้ว (TPI) Cylinder จะหมายถึงกลุ่มของ Track ที่อยู่ บริเวณหัวอ่านเขียนบนทุก ๆ แพล็ตเตอร์ ในการเข้าอ่านข้อมูลนั้นแต่ละแทร็คจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector กระบวนการในการจัดการดิสก์ ให้มีแทร็ค และเซกเตอร์เรียกว่า การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ ในปัจบันส่วนใหญ่จะได้รับการฟอร์แมตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติ เซกเตอร์ จะมีขนาด เท่ากับ 512 ไบต์ คอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลที่ได้รับการฟอร์แมตนี้ เหมือนกับที่นักท่องเที่ยวใช้แผนที่ ในการเดินทาง คือใช้ระบุว่าข้อมูลใดอยู่ที่ตำแหน่งใดบนฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นหากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้รับการฟอร์แมต เครื่องคอมพิวเตอร์ จะก็ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บไว้ที่ใด และจะนำข้อมูลมาได้จากที่ไหนในการออกแบบฮาร์ดดิสก์ แบบเก่านั้นจำนวน เซกเตอร์ต่อแทร็กจะถูกกำหนดตายตัว เนื่องจากพื้นที่แทร็คบริเวณขอบนอกนั้นมีขนาด ใหญ่กว่าบริเวณขอบใน ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นพื้นที่สิ้นเปลืองของแทร็คด้านนอกจึงมีมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ได้มีการใช้เทคนิคการฟอร์แมต รูปแบบใหม่ที่ เรียกว่า Multiple Zone Recording เพื่อบีบข้อมูลได้มากขึ้น ในการนำมาจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ได้ Multiple Zone Recording จะอนุญาตให้พื้นที่แทร็คด้านนอก สามารถ ปรับจำนวนคลัสเตอร์ได้ทำให้พื้นที่แทร็ค ด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่า ด้านในและด้วยการแบ่งให้พื้น ที่แทร็คด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่าด้านในนี้ ข้อมูลสามารถจัดเก็บได้ตลอดทั้งฮาร์ดดิสก์ ทำให้มีการใช้เนื้อที่บนแพล็ตเตอร์ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการ เพิ่มความจุโดย ใช้จำนวนแพล็ตเตอร์น้อยลงจำนวนของเซกเตอร์ต่อแทร็ค ในดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วแบบปกติจะมีอยู่ ประมาณ 60 ถึง 120 เซกเตอร์ภายใต้การจัดเก็บแบบ Multiple Zone Recording

การทำงานของหัวอ่านเขียน
     หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์นับเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด และลักษณะของมัน ก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ ประสิทธิภาพ ของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่านเขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้าย ๆ ตัว “C” โดยมีช่อง ว่างอยู่เล็กน้อย โดยจะมีเส้นคอยล์ พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนนี้เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูล จะใช้ วิธีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้น จะรับค่าความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กผ่าน คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็น สัญญาณส่งไปยังซีพียู ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความ หนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นในขณะที่เนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลก็จะลดขนาดลง ขนาดบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลง และอ่านได้ยากขึ้น ด้วเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็น ต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อ ลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่านเขียนบินอยู่ห่างสื่อ ประมาณ 17 microinch (ล้านส่วนของนิ้ว) มาในปัจจุบันนี้หัวอ่านเขียน บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 microinch เท่านั้น เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงสุด โดยให้บินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต แต่ที่สำคัญก็คือหัวอ่านเขียนนั้นไม่เคยสัมผัส กับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่านเขียนจะ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล

Seek Time
     คือระยะเวลาที่แขนยืดหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อ ๆ ไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัด ๆ ไปในแทร็คที่ อยู่ติด ๆ กันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติ แล้วมักมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามระดับความเร็ว Seek time ของตัว ฮาร์ดดิสก์เอง เช่นมีการเรียกฮาร์ดดิสก์ ที่มี Seek time 14 ms ว่า “ฮาร์ดดิสก์ 14 ms” ซึ่งก็แสดงให้ทราบว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ มีความเร็วของ Seek time ที่ 14 ms อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ค่าความเร็ว Seek time กำหนดระดับชั้นของฮาร์ดดิสก์จะสะดวก แต่ค่า Seek time ก็ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมด ของฮาร์ดดิสก์ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัวไดร์ฟเท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) ดังนั้น ให้ใช้ค่า seek time เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการตัดสิน ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์เท่านั้น

Head Switch Time
     เป็นเวลาสลับการทำงาของหัวอ่านเขียน แขนยึดหัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ ที่อยู่ในแนวตรงกัน อย่างไรก็ตามหัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวเท่านั้นที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลา ในการสลับกันทำงาน ของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยหน่วย ms

Cylinder Switch Time
     เวลาในการสลับไซลินเดอร์ สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียน จะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือไซลินเดอร์ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง ไซลินเดอร์จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจากไซลินเดอร์หนึ่งไปยัง ไซลินเดอร์อื่น ๆ เวลาในการสลับไซลินเดอร์จะวัดด้วยหน่วย ms

Rotational Latency
     เป็นช่วงเวลาในการอคอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายใน การหมุนภายในฮาร์ดดิสก์จะเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน เขียนวางตำแหน่ง อยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสมระบบการทำงาน ของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัด ด้วยหน่วย ms เช่นเดียวกัน แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที) ด้วยเช่นกัน

รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ และมาตราฐานของการเชื่อมต่อ แบบต่าง ๆ
     ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยจะเป็นแผ่นดิสก์และหัวอ่านที่บอบบางมาก และไม่ค่อยจะทนต่อการกระทบ กระเทือนได้ ดังนั้น จึงควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เวลาจัดถือไม่ควรให้กระแทกหรือกระเทือน และระมัดระวังไม่ให้มือโดน อุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนแผงวงจร โดยปกติ ฮาร์ดดิสก์ มักจะบรรจุอยู่ในช่องที่เตรียมไว้เฉพาะภายในเครื่อง โดยจะมีการต่อสาย สัญญาณเข้ากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และสายไฟเลี้ยงที่มาจากแหล่งจ่ายไฟด้วยเสมอ ในที่นี้ จะขอแนะนำให้รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ในเบื้องต้น พอเป็นพื้นฐานในการทำความรู้จักและเลือกซื้อมาใช้งานกัน

ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ แบ่งตามอินเตอร์เฟสที่ต่อใช้งาน
 
     ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีใช้งานทั่วไป จะมีระบบการต่อใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) กับ SCSI (Small Computer System Interface) ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกันตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มักจะเป็นการต่อแบบ EIDE ทั้งนั้น ส่วนระบบ SCSI จะมีความเร็วของการรับส่ง ข้อมูลที่เร็วกว่า แต่ราคาของฮาร์ดดิสก์จะแพงกว่ามาก จึงนิยมใช้กันในเครื่อง Server เท่านั้น

EIDE หรือ Enhance IDE เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่าน สายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของการต่อแบบนี้คือ AT Attachment หรือ ATA ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบย่อยอื่น ๆ เช่น ATA-2, ATAPI, EIDE, Fast ATA ตลอดจน ATA-33 และ ATA-66 ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเป็นแบบ ATA-66 แล้วสายแพรสำหรับรับส่งสัญญาณ จะต้องเป็นสายแพรแบบที่รองรับการทำงานนั้นด้วย จะเป็นสายแพรที่มีสายข้างใน 80 เส้นแทนครับ ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด จะมีคอนเน็คเตอร์ให้ 2 ชุด ดังนั้น เราสามารถต่อฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่นซีดีรอมไดร์ฟ ได้สูงสุด 4 ตัวต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ในสมัยเริ่มต้น จะเป็นแบบ PIO (Programmed Input Output) ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านซีพียู คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลแบบ PIO นี้ยังมีการทำงานแยกออกไปหลายโหมด โดยจะมีความเร็วในกรรับส่งข้อมูลต่าง ๆ กันไป ดังตารางต่อไปนี้

PIO mode อัตราการรับส่งข้อมูล (MB./sec) อินเตอร์เฟส
0 3.3 ATA
1 5.2 ATA
2 8.3 ATA
3 11.1 ATA-2
4 16.6 ATA-2

การรับส่งข้อมูลระหว่าง ฮาร์ดดิสก์ กับเครื่องคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่ง เรียกว่า DMA (Direct Memory Access) คือทำการ รับส่งข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสก์ กับหน่วยความจำโดยไม่ผ่านซีพียู ซึ่งจะกินเวลาในการทำงานของซีพียูน้อยลง แต่ได้อัตราการรับส่ง ข้อมูลพอ ๆ กับ PIO mode 4 และยังแยกการทำงานเป็นหลายโหมดเช่นเดียวกันการรับส่งข้อมูลทาง PIO โดยมีอัตราการรับส่ง ข้อมูลดังตารางต่อไปนี้

หัวข้อ DMA mode อัตราการรับส่งข้อมูล (MB./sec) อินเตอร์เฟส
Single Word 0 2.1 ATA
1 4.2 ATA
2 8.3 ATA
Multi Word 0 4.2 ATA
1 13.3 ATA-2
2 16.6 ATA-2

ฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่งอาจเลือกใช้การรับส่งข้อมูลได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือ ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้นั้นสนับสนุนการทำงานแบบใดบ้าง ชิปเซ็ตและ BIOS ของเมนบอร์ดต้องสนับสนุนการทำงานในแบบต่าง ๆ และอย่างสุดท้านคือ ระบบปฏิบัติการบางตัว จะมีความสามารถเปลี่ยนหรือเลือกวิธีการรับส่งข้อมูลในแบบต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น Windows NT, Windows 98 หรือ UNIX เป็นต้น

ถัดจาก EIDE ในปัจจุบันก็มีการพัฒนามาตราฐานการอินเตอร์เฟส ที่มีความเร็วสูงยิ่งขึ้นไปอีก คือแบบ Ultra DMA/2 หรือเรียกว่า ATA-33 (บางทีเรียก ATA-4) ซึ่งเพิ่มความเร็วขึ้นไป 2 เท่าเป็น 33 MHz และแบบ Ultra DMA/4 หรือ ATA-66 (หรือ ATA-5) ซึ่งกำลังเป็นมาตราฐานอยู่ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

DMA mode อัตราการรับส่งข้อมูล (MB./sec) อินเตอร์เฟส
Ultra DMA/2
(UDMA2 หรือ UDMA/33)
33.3 ATA-33 (ATA-4)
Ultra DMA/4
(UDMA4 หรือ UDMA/66)
66.6 ATA-66 (ATA-5)

นอกจากนี้ ปัจจุบันเริ่มจะเห็น ATA-100 กันบ้างแล้วในฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ บางยี่ห้อ

SCSI เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก ความจริงแล้ว SCSI ไม่ได้เป็น อินเตอร์เฟสสำหรับ ฮาร์ดดิสก์ โดยเฉพาะ ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ที่จะนำมาต่อกับอินเตอร์เฟสแบบนี้ จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความฉลาดหรือ Intelligent พอสมควร (มักจะต้องมีซีพียู หรือหน่วยความจำของตนเองในระดับหนึ่ง) โดยทั่วไป การ์ดแบบ SCSI จะสามารถต่อ อุปกรณ์ได้ 7 ตัว แต่การ์ด SCSI บางรุ่นอาจต่ออุปกรณ์ได้ถึง 14 ตัว (SCSI-2) ในทางทฤษฎีแล้ว เราสามารถนำอุปกรณ์หลายชนิด มาต่อเข้าด้วยกันผ่าน SCSI ได้เช่น ฮาร์ดดิสก์ เทปไดร์ฟ ออปติคัลดิสก์ เลเซอร์พรินเตอร์ หรือแม้กระทั่งเมาส์ ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้น มีอินเตอร์เฟสที่เหมาะสม มาดูความเร็วของการรับส่งข้อมูลของ SCSI แบบต่าง ๆ กันดีกว่า

หัวข้อ SCSI Fast Wide Fast Wide Ultra Ultra
Wide
Ultra 2 Ultra 3
(Ultra160)
บัสข้อมูล (บิต) 8 8 19 16 32 16 32 16 32
ความถี่ (MHz) 5 10 5 10 10 20 20 40 40
รับส่งข้อมูล (MB/s) 5 10 10 20 40 40 80 80 160
คอนเน็คเตอร์ SCSI-1 SCSI-2 SCSI-2 SCSI-2 SCSI-2 SCSI-3 SCSI-3 SCSI-3 SCSI-3

ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
     ความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ความเร็งในการหมุน กลไกภายใน ความจุข้อมูล ชนิดของ คอนโทรลเลอร์ ขนาดของบัฟเฟอร์ และระบบการเชื่อต่อที่ใช้เป็นต้น ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดก็ได้

ความเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์
     ความเร็วในการหมุนของดิสก์ เป็นสิ่งที่มีผลกับความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลมากทีเดียว ฮาร์ดดิสก์ทั่วไป ถ้าเป็นรุ่นธรรมดา จะหมุนอยู่ที่ประมาณ 5,400 รอบต่อนาที (rpm) ส่วนรุ่นที่เร็วหน่อยก็จะเพิ่มเป็น 7,200 รอบต่อนาที ซึ่งถือเป็นมาตราฐาน อยู่ในขณะนี้ และถ้าเป็นรุ่นใหญ่หรือพวก SCSI ในปัจจุบันก็อาจถึง 10,000 รอบหรือมากกว่านั้น ฮาร์ดดิสก์ที่หมุนเร็ว ก็จะสามารถ อ่านข้อมูลในแต่ละเซ็คเตอร์ได้เร็วกว่าตามไปด้วย ทำให้ความเร็วการรับส่งข้อมูลภายใน มีค่าสูงกว่า ฮาร์ดดิสกที่หมุนมากรอบกว่า ก็อาจมีเสียงดัง ร้อน และสึกหรอมากกว่า แต่โดยรวมทั่วไปแล้ว หากราคาไม่เป็นข้อจำกัด ก็ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่หมุนเร็ว ๆ ไว้ก่อน

อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์
     ดังที่อธิบายแล้วว่า ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้แก่ แบบ ATA-33 และ ATA-66 ซึ่งมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่าแบบเก่า หากต้องการอัตราการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่านี้ ก็ต้องเลือกอินเตอร์เฟสแบบ SCSI ซึ่งจะมีข้อดีคือ มีความเร็วสูงกว่าแบบ EIDE มากและยังสามารถต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ถึง 7 ตัวด้วยกัน โดยที่ราคาก็ยังคงจะ แพงกว่าแบบ EIDE ด้วย จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วสูงเช่น Server ของระบบ LAN เป็นต้น

ประเด็นสำคัญของการต่อฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ก็คือ แต่ละสายที่ต่อออกมานั้น ตามปกติจะต่อได้ 2 ไดร์ฟ โดยฮาร์ดดิสก์ ที่อยู่บนสาย คนละเส้นจะทำงานพร้อมกันได้ แต่ถ้าอยู่บนสายเส้นเดียวกันจะต้องทำทีละตัว คือไม่ทำงานกับ Master ก็ Slave ตัวเดียวเท่านั้น ในเวลาหนึ่ง ๆ และหากเป็นอุปกรณ์ที่ทำการรับส่งข้อมูลคนละแบบบนสายเดียวกัน เช่นการต่อฮาร์ดดิสก์แบบ UltraDMA/66 ร่วมกับซีดีรอมแบบ PIO mode 4 อุปกรณ์ทุกตัวบนสายเส้นนั้น ก็จะต้องทำตามแบบที่ช้ากว่า ดังนั้น จึงไม่ควรต่อฮาร์ดดิสก์ที่เร็ว ๆ ไว้กับซีดีรอมบนสายเส้นเดียวกัน เพราะจะทำให้ฮาร์ดดิสก์ช้าลงตามไปด้วย

หน่วยความจำ แคช หรือ บัฟเฟอร์ ที่ใช้
     อีกวิธีที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน คือการใช้หน่วยความจำแคช หรือบัฟเฟอร์ (Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอมโทรลเลอร์บนการ์ด หรือเมนบอร์ด แคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ โดยในกรณีอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปมาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล ก็จะรับข้อมูลมาก่อนเพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันที ที่ฮาร์ดดิสก์ว่าง แต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด

หน่วยความจำหรือแคชนี้ ในฮาร์ดดิสก์รุ่นราคาถูกจะมีขนาดเล็ก เช่น 128KB หรือบางยี่ห้อก็จะมีขนาด 256-512KB แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมา จะมีการเพิ่มจำนวนหน่วยความจำนี้ไปจนถึง 2MB เลยทีเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า มีส่วนช่วย ให้การทำงานกับฮาร์ดดิสก์นั้นเร็วขึ้นมาก ถึงแม้กลไกการทำงานของฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ จะช้ากว่าก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของโปรแกรมด้วย

ปัจจัยอื่น ๆ ในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
     หลังจากที่ได้พอจะรู้จักกับฮาร์ดดิสก์แบบต่าง ๆ กันแล้ว หากต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ที่จะนำมาใช้งานสักตัว ปัจจัยต่าง ๆ ด้านบนนี้ น่าจะเป็นตัวหลักในการกำหนดรุ่นและยี่ห้อของฮาร์ดดิสก์ที่จะซื้อได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ควรที่จะมองข้ามปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ไปด้วย

ความจุของข้อมูล
     ยิ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมาก ราคาก็จะแพงขึ้นไป เลือกให้พอดีกับความต้องการแต่ไปเน้นเรื่องความเร็วดีกว่าครับ เช่นหากมีขนาด 15G 7,200 rpm กับ 20G 5,400 rpm ที่ราคาใกล้เคียงกัน ผมมอลว่าน่าจะเลือกตัว 15G 7,200 rpm ดีกว่า

ความจุของฮาร์ดดิสก์ (ไบต์) = 0.5 x Cylender x จำนวนหัวอ่าน x Sector

1 ไบต์ (byte) = 8 บิต (bit)
1 กิโลไบต์ (Kilobyte) = 1,024 ไบต์
1 เมกะไบต์ (Megabyte) = 1,048,576 ไบต์
1 กิกะไบต์ (Gigabyte) = 1,073,741,824 ไบต์
1 เทราไบต์ (Terabyte) = 1,099,511 ล้านไบต์
1 พิโตไบต์ (Petobyte) = 1,125,899,906 ล้านไบต์

ความทนทานและการรับประกัน
     อย่าลืมว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอดเวลา มีการเคลื่อนไหวต่าง ๆ มากมายอยู่ภายในและโอกาสที่จะเสียหายมีได้มาก โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนและการระบายความร้อนที่ไม่ดีในเครื่อง ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียหาย นอกจากนี้ การเกิด แรงกระแทกแรง ๆ ก็เป็นสาเหตุหลักของ การเสียหายที่พบได้บ่อย ดังนั้น ปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ คือ เรื่องระยะเวลาในการรับประกันสินค้า และระยะเวลาในการส่งเคลม ว่าจะช้าหรือเร็วกว่าจะได้ของกลับคืนมาใช้งาน รวมทั้งร้านค้า ที่เราไปซื้อด้วย ที่ในบางครั้ง เวลาซื้อสินค้า จะบอกว่าเปลี่ยนได้ เคลมเร็ว แต่เวลาที่มีปัญหาจริง ๆ ก็จะไม่ค่อยยอมเปลี่ยนสินค้าให้เราแบบง่าย ๆ

เท่าที่เคยได้ยินมา ส่วนมากจะนิยมซื้อยี่ห้อ Quantum, IBM, Maxtor กันครับ ทั้งนี้ก็คงจะขึ้นอยู่กับราคา ความร้อน เสียง ความเร็ว และความชอบของแต่ละคนกันครับ ที่สำคัญคือเรื่องของความเร็วต่าง ๆ ก็เลือกกันให้ดีนะครับ

credit:http://www.mary.ac.th

แรม (RAM) 
          RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module
 เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
 SDRAM 
 
 รูปแสดง SDRAM 
             อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน
 

DDR – RAM 
           หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ

           ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน
 
Rambus 
 
           Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz

            วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM 
 
สัญญาณนาฬิกา
            DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X
 หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้ 
 
การเรียกชื่อ RAM
            Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้นสามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 266 = 2100)  

นาคตของ RAM 
             บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAM
 แนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่นกัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด

credit: http://www.dcomputer.com

สวัสดีครับ ใครที่ใช้โปรแกรม Internet Explorer(IE) เป็นเบราเซอร์ตัวโปรดในการท่องเว็บ เล่นอินเตอร์เน็ต แล้วเจอปัญหาIE Error บ่อยๆ หรือIE ไม่ยอมทำงานไปซะเฉยๆ บางทีก็หลุดหรือปิดตัวเองไปซะเฉยๆ แล้วหล่ะก็ วันนี้ผมมีเครื่องมือที่จะช่วยซ่อมแซมและแก้ไข เป่าลมหายใจให้ IE ของคุณกลับมาทำงานได้อย่างราบรื่น พาคุณท่องเว็บ เล่นอินเตอน์เน็ตได้อย่างสบายใจ ไร้กังวลกับปัญหา Error ต่างๆ มาฝากกันครับ โดยโปรแกรมที่กล่าวถึงนี้ก็คือโปรแกรม Fix IE Utility ครับ

โปรแกรม Fix IE Utility คืออะไร
โปรแกรม Fix IE Utility เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมฉบับพกพา ที่เอาไว้ช่วยซ่อมแซมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Internet Explorer(IE) ซึ่งแอาจจะเกิดจากปัญหาไวรัส สปายแวร์ต่างๆ รวมไปถึงอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ทำการลบหรือกำ จัดไวรัส สปายแวร์ออกไปแล้วก็ตาม โดยยูทิลิตี้นี้ได้รวมรวมคำสั่งสำหรับ Register ไฟล์ประกอบสำคัญ เช่นพวกไฟล์ dll, ไฟล์ ocx ต่างๆ เอาไว้ถึง 89 ไฟล์เลยทีเดียว ที่จำเป็นสำหรับไว้ให้ IE เรียกใช้งาน เพื่อการทำงานที่ราบรื่น ไร้กังวลจากปัญหา Error โดยโปรแกรม Fix IE Utility นี้ รองรับและทดสอบผ่าน IE 7 และ IE 8 เรียบร้อยแล้ว

วิธีใช้งานและดาวน์โหลดโปรแกรม Fix IE Utility
1. ให้ ดาวน์โหลดโปรแกรม Fix IE Utility << ที่นี่ มาไว้ที่เครื่อง
2. จากนั้นปิดโปรแกรมInternet Explorer(IE) ออกไปให้หมด รวมถึงโปรแกรมอื่นๆด้วย
3. จากนั้นให้แตกไฟล์ Fix IE.zip ที่ดาวน์โหลดมาไว้เรียบร้อยแล้ว
4. ต่อมาให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ Fix IE Utility.exe แล้วกดปุ่ม Run Utility แล้วรอจนกระทั่งมีกล่องข้อความขึ้นมาแจ้งเตือนว่า “Re-registered all files” ก็ให้คลิกปุ่ม OK ออกไป เพื่อจบการทำงาน
5. เป็นอันเรียบร้อยครับ ขอให้สนุกกับการใช้งาน IE ของคุณนะครับ

ข้อมูลจาก : http://www.it-guides.com

มีวิธีการปรับแต่ง Firefox จำนวน 10 วิธี เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้เร็วขึ้นและดีขึ้นมาฝากครับ โดยก่อนอื่นให้ทำการเปิดโปรแกรม Firefox จากนั้นพิมพ์ about:config ในช่อง Address แล้วกด Enter

หมายเหตุ: หากท่านใดจะลองทำตามก็ให้ใช้ความระมัดระวังนะครับ เนื่องจากหากแก้ไขผิดผลาดอาจจะทำให้โปรแกรมมีปัญหาใน การทำงานได้

1. Speed up Firefox
วิธีการเพิ่มความเร็วให้กับ Firefox ทำได้โดยการปรับแต่งค่าคอนฟิกต่างๆ ดามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: เสริช pipelining ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าต่างๆ ดังนี้
network.http.pipelining: ให้เปลี่ยนเป็น true
network.http.proxy.pipelining: ให้เปลี่ยนเป็น true
network.http.pipelining.maxrequests: ให้เปลี่ยนเป็น 8

ขั้นตอนที่ 2: เสริช max-connections ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าต่างๆ ดังนี้
network.http.max-connections: ให้เปลี่ยนเป็น 96
network.http.max-connections-per-server: ให้เปลี่ยนเป็น 32

2. Disable antivirus scanning
โดยดีฟอลท์ Firefox จะทำการสแกนไวรัสทุกๆ ครั้งเมื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์ การปิดการสแกนไวรัสจะทำให้ Firefox ทำงานได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามคอนฟิกนี้ใช้ได้เฉพาะบนระบบวินโดวส์เท่า นั้น

การคอนฟิกให้ Firefox ไม่ต้องทำการสแกนไวรัสทำได้โดยการเสริช scanWhenDone ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
browser.download.manager.scanWhenDone: ให้เปลี่ยนเป็น false

3. Open Javascript popups as tabs
โดยดีฟอลท์ Firefox จะเปิดป็อปอัพในหน้าต่างใหม่ แต่สามารถคอนฟิกให้ Firefox เปิดป็อปอัพในแบบแท็บได้ โดยเสริช newwindow ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
browser.link.open_newwindow.restriction: ให้เปลี่ยนเป็น 0

4. Spell checking in all fields
โดยดีฟอลท์ Firefox จะตรวจสอบคำผิดเฉพาะในกล่องข้อความหลายบรรทัด แต่สามารถทำการคอนฟิกให้ Firefox ทำการตรวจสอบคำผิดในทุกๆ กล่องข้อความได้โดยเสริช spellcheckdefault ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
layout.spellcheckDefault: ให้เปลี่ยนเป็น 2

5. Open search bar results in new tab
โดยดีฟอลท์ Firefox จะแสดงผลที่ได้จากการเสริชโดย search bar ในหน้าแท็บปัจจุบัน แต่สามารถทำการคอนฟิกให้ Firefox แสดงผลที่ได้จากการเสริชด้วย search bar ในแท็บใหม่ได้ โดยเสริช openintab ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
browser.search.openintab: ให้เปลี่ยนเป็น true

6. Auto export bookmarks
ใน Firefox 3 และใหม่กว่านั้น bookmarks จะถูกบันทึกเป็น places.sqlite แทนที่จะเป็น bookmarks.html แต่สามารถทำการคอนฟิกให้ Firefox บันทึก bookmarks เป็นไฟล์ bookmarks.html ได้โดยเสริช autoExportHTML ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
browser.bookmarks.autoExportHTML: ให้เปลี่ยนเป็น true

7. Disable extension install delay
เมื่อทำการติดตั้ง extension ต่างๆ โดยดีฟอลท์ Firefox จะทำการนับถอยหลัง แต่สามารถทำการคอนฟิกเพื่อยกเลิกการนับถอยหลังได้โดย เสริช enable_delay ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
security.dialog_enable_delay: ให้เปลี่ยนเป็น 0

8. View source code in an external editor
เมื่อทำการเลือกคำสั่ง View source code ของหน้าเว็บ Firefox จะทำการเปิดหน้าป็อปอัพ แต่สามารถทำการคอนฟิกให้ Firefox ทำการเปิดหน้า View source code ด้วยโปรแกรมที่ต้องการได้ได้โดยเสริช view_source.editor ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
view_source.editor.external: ให้เปลี่ยนเป็น true
view_source.editor.path: ให้เปลี่ยนเป็นพาธของโปรแกรมที่ต้องการ

9. Get more add-on search results
เมื่อทำการเสริชในหน้า Add-on การแสดงผลจะจำกัดอยู่ที่ 5 แต่สามารถทำการคอนฟิกให้ Firefox ทำการแสดงผลลัพธ์มากกว่า 5 รายการ ได้โดยเสริช getAddons ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
extension.getAddons.maxResults: ให้เปลี่ยนเป็น 10 (หรือมากกว่า)

10. Redefine the Backspace button
โดยดีฟอลท์ปุ่ม Backspace จะใช้สำหรับการย้อนกลับไปยังหน้าก่อนหน้า แต่สามารถทำการคอนฟิกปุ่ม Backspace ทำการไปยังหน้าถัดไปได้ โดยเสริช backspace ในช่อง Filter จากนั้นให้ทำการแก้ไขค่าดังนี้
browser.backspace_action: ให้เปลี่ยนเป็น 0 สำหรับใช้ย้อนกลับไปยังหน้าก่อนหน้า หรือ 1 สำหรับการไปยังหน้าถัดไป

credit:http://www.it-guides.com/

คำว่า Blue Screen คนเล่นคอม จะรู้จักดีและเป็นสิ่งที่ทุกคนกลัวไม่อยากให้เกิดกับ เครื่องของตน เพราะถ้าเกิดนั้นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าคอมของตนเริ่มมีปัญหา แต่ที่น่าเจ็บใจคือมันบอกเป็นเลขระหัสที่เราๆ ท่านๆ ต้องงงเพราะไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร และจะมีทางแก้ไขอย่างไร ผมไปอ่านเจอมาว่าแต่ละตัวมีความหมายอย่างไร ก็ลองแปลมาให้คุณๆ ได้อ่าน คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้บ้าง รหัสที่แจ้งของ Blue Screen จริงๆมีเกินร้อยตัว แต่ผมจะลงเฉพาะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ จากการสำรวจ (ของเวปเมืองนอกเขา)

มาเริ่มต้นกันเลย

1.(stop code 0X000000BE)Attempted Write To Readonly Memory
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดจากการลง driver หรือ โปรแกรม หรือ service ที่ผิดพลาด เช่น ไฟล์บางไฟล์เสีย ไดร์เวอร์คนละรุ่นกัน ทางแก้ไขให้ uninstall โปรแกรมตัวที่ลงก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ ถ้าเป็นไดร์เวอร์ก็ให้ทำการ roll back ไดร์เวอร์ตัวเก่ามาใช้ หรือ หาไดร์เวอร์ที่ล่าสุดมาลง (กรณีที่มีใหม่กว่า) ถ้าเป็นพวก service ต่างๆที่เราเปิดก่อนเกิดปัญหาก็ให้ทำการปิด หรือ disable ซะ

2.(stop code 0X000000C2) Bad Pool Caller
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
ตัวนี้จะคล้ายกับตัวข้างบน แต่เน้นที่พวก hardware คือเกิดจากอัฟเกรดเครื่องพวก Hardware ต่าง เช่น ram ,harddisk การ์ดต่างๆ ไม่ compatible กับ XP ทางแก้ไขก็ให้เอาอุปกรณ์ที่อัฟเกรดออก ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ให้ลงไดร์เวอร์ หรือ อัฟเดท firmware ของอุปกรณ์นั้นใหม่ และคำเตือนสำหรับการจะอัฟเดท ให้ปิด anti-virus ด้วยนะครับ เดียวมันจะยุ่งเพราะพวกโปรแกรม anti-virus มันจะมองว่าเป็นไวรัส

3.(stop code 0X0000002E) Data Bus Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดจากการส่งข้อมูลที่เรียกว่า BUS ของฮาร์แวร์เสียหาย ซึ่งได้แก่ ระบบแรม ,Cache L2 ของซีพียู , เมมโมรีของการ์ดจอ, ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักถึงขั้น error (ร้อนเกินไป) และเมนบอร์ดเสีย

4.(stop code 0X000000D1)Driver IRQL Not Less Or Equal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการไดร์เวอร์กับ IRQ(Interrupt Request ) ไม่ตรงกัน การแก้ไขก็เหมือนกับ error ข้อที่ 1

5. (stop code 0X0000009F)Driver Power State Failure
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดจาก ระบบการจัดการด้านพลังงานกับไดรเวอร์ หรือ service ขัดแย้งกัน เมื่อคุณให้คอมทำงานแบบ”Hibernate” แนวทางแก้ไข ถ้าวินโดวส์แจ้ง error ไดร์เวอร์หรือ service ตัวไหนก็ให้ uninstall ตัวนั้น หรือจะใช้วิธี Rollback driver หรือ ปิดระบบจัดการพลังงานของวินโดวส์ซะ

6.(stop code 0X000000CE) Driver Unloaded Without Cancelling Pending Operations
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการไดร์เวอร์ปิดตัวเองทั้งๆ ทีวินโดวส์ยังไม่ได้สั่ง การแก้ไขให้ทำเหมือนข้อ 1

7.(stop code 0X000000F2)Hardware Interrupt Storm
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการที่เกิดจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น USB หรือ SCSI controller จัดตำแหน่งกับ IRQ ผิดพลาด สาเหตุจากไดร์เวอร์หรือ Firmware การแก้ไขเหมือนกับข้อ 1

8.(stop code 0X0000007B)Inaccessible Boot Device
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้จะมักเจอตอนบูตวินโดวส์ จะมีข้อความบอกว่าไม่สามารถอ่านข้อมูลของไฟล์ระบบหรื อ Boot partitions ได้ ให้ตรวจฮาร์ดดิสก์ว่าปกติหรือไม่ สายแพหรือสายไฟที่เข้าฮาร์ดดิสก์หลุดหรือไม่ ถ้าปกติดีก็ให้ตรวจไฟล์ Boot.ini อาจจะเสีย หรือไม่ก็มีการทำงานแบบ Multi OS ให้ตรวจดูว่าที่ไฟล์นี้อาจเขียน Config ของ OS ขัดแย้งกัน
อีกกรณีหนึ่งที่เกิด error นี้ คือเกิดขณะ upgrade วินโดวส์ สาเหตุจากมีอุปกรณ์บางตัวไม่ Compatible ให้ลองเอาอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นหรือคิดว่ามีปัญหาออก เมื่อทำการ upgrade วินโดวส์ เรียบร้อย ค่อยเอาอุปกรณ์ที่มีปัญหาใส่กลับแล้วติดตั้งด้วยไดร์ เวอร์รุ่นล่าสุด

9. (stop code 0X0000007A) Kernel Data Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดมีปัญหากับระบบ virtual memory คือวินโดวส์ไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ swapfile ได้ สาเหตุอาจเกิดจากฮาร์ดดิสก์เกิด bad sector, เครื่องติดไวรัส, ระบบ SCSI ผิดพลาด, RAM เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย

10.(stop code 0X00000077)Kernel Stack Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการและสาเหตุเดียวกับข้อ 9

11.(stop code 0X0000001E)Kmode Exception Not Handled
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดของไดร์เวอร์ หรือ service กับ หน่วยความจำ และ IRQ ถ้ามีรายชื่อของไฟล์หรือ service แสดงออกมากับ error นี้ให้ทำการ uninstall โปรแกรมหรือทำการ Roll back ไดร์เวอร์ตัวนั้น
ถ้ามีการแจ้งว่า error ที่ไฟล์ win32k สาเหตุเกิดจาก การ control software ของบริษัทอื่นๆ (Third-party) ที่ไม่ใช้ของวินโดวส์ ซึ่งมักจะเกิดกับพวก Networking และ Wireless เป็นส่วนใหญ่
Error นี้อาจจะเกิดสาเหตุอีกอย่าง นั้นคือการ run โปรแกรมต่างๆ แต่หน่วยความจำไม่เพียงพอ

12.(stop code 0X00000079)Mismatched Hal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดการทำงานผิดพลาดของ Hardware Abstraction Layer (HAL) มาทำความเข้าใจกับเจ้า HAL ก่อน HAL มีหน้าที่เป็นตัวจัดระบบติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอ ฟท์แวร์ว่าแอปพลิเคชั่นตัวไหนวิ่งกับอุปกรณ์ตัวไหนให้ ถูกต้อง ยกตัวอย่าง คุณมีซอฟท์แวร์ที่ออกแบบไว้ใช้กับ Dual CPU มาใช้กับเมนบอร์ดที่เป็น Single CPU วินโดว์ก็จะไม่ทำงาน วิธีแก้คือ reinstall วินโดวส์ใหม่
สาเหตุอีกประการการคือไฟล์ที่ชื่อ NToskrnl.exe หรือ Hal.dll หมดอายุหรือถูกแก้ไข ให้เอา Backup ไฟล์ หรือเอา original ไฟล์ที่คิดว่าไม่เสียหรือเวอร์ชั่นล่าสุดก๊อปปี้ทับไ ฟล์ที่เสีย

13.(stop code 0X0000003F)No More System PTEs
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้เกิดจากระบบ Page Table Entries (PTEs) ทำงานโดย Virtual Memory Manager (VMM) ผิดพลาด ทำให้วินโดวส์ทำงานโดยไม่มี PTEs ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวินโดวส์ อาการนี้มักจะเกิดกับการที่คุณทำงานแบบ multi monitors
ถ้าคุณเกิดปัญหานี้บ่อยครั้ง คุณสามารถปรับแต่ง PTEs ได้ใหม่ ดังนี้
1. ให้เปิด Registry ขึ้นมาแก้ไข โดยไปที่ Start > Run แล้วพิมพ์คำสั่ง Regedit
2. ไปตามคีย์นี้ HKEY_LOCAL_MACHINESYSTEMCurrentControlSetControlSe ssion ManagerMemory Management
3. ให้ดูที่หน้าต่างขวามือ ดับคลิกที่ PagedPoolSize ให้ใส่ค่าเป็น 0 ที่ Value data และคลิก OK
4. ดับเบิลคลิกที่ SystemPages ถ้าคุณใช้ระบบจอแบบ Multi Monitor ให้ใส่ค่า 36000 ที่ Value data หรือใส่ค่า 40000 ถ้าเครื่องคุณมี RAM
128 MB และค่า 110000 ในกรณีที่เครื่องมี RAM เกินกว่า 128 MB แล้วคลิก OK รีสตาร์ทเครื่อง

14.(stop code 0X00000024) NTFS File System
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้สาเหตุเกิดจากการรายงานผิดพลาดของ Ntfs.sys คือไดร์เวอร์ของ NTFS อ่านและเขียนข้อมูลผิดพลาด สาเหตูนี้รวมถึง การทำงานผิดพลาดของ controller ของ IDE หรือ SCSI เนื่องจากการทำงานของโปรแกรมสแกนไวรัส หรือ พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เสีย คุณๆสามารถทราบรายละเอียดของerror นี้ได้โดยให้เปิดดูที่ Event Viewer วิธีเปิดก็ให้ไปที่ start > run แล้วพิมพ์คำสั่ง eventvwr.msc เพื่อเปิดดู Log file ของการ error โดยให้ดูการ error ของ SCSI หรือ FASTFAT ในหมวด System หรือ Autochk ในหมวด Application

15.(stop code 0X00000050)Page Fault In Nonpaged Area
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้สาเหตุการจากการผิดพลาดของการเขียนข้อมูลในแ รม การแก้ไขก็ให้ทำความสะอาดขาแรมหรือลองสลับแรมดูหรือไ ม่ก็หาโปรแกรมที่ test แรมมาตรวจว่าแรมเสียหรือไม่

16.(stop code 0Xc0000221)Status Image Checksum Mismatch
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้สาเหตุมาจาก swapfile เสียหายรวมถึงไดร์เวอร์ด้วย การแก้ไขก็เหมือนข้อ 15

17.(stop code 0X000000EA)Thread Stuck In Device Driver
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการของ error นี้คือการทำงานของเครื่องจะทำงานในแบบวนซ้ำๆ กันไม่สิ้นสุด เช่นจะรีสตร์ทตลอด หรือแจ้งerror อะไรก็ได้ขึ้นมาไม่หยุด ปัญหานี้ สาเหตุอาจจะเกิดจาก Bug ของโปรแกรมหรือสาเหตุอื่นๆ เป็นร้อย การแก้ไขให้พยายามทำตามนี้
1.ให้ดูที่ Power supply ของคุณว่าจ่ายกำลังไฟเพียงพอกับความต้องการของคอมคุณ หรือไม่ ให้ดูว่าในเครื่องคุณมีอุปกรณ์มากไปไม่เหมาะกับ Power supply ของคุณ ก็ให้เปลื่ยนตัวใหม่ให้กำลังมากขึ้น ปัญหานี้ผมเคยมีประสพการณ์แล้ว 2 ครั้ง คือ
-1.1 ประสพการณ์ครั้งแรก เกิดจากคอมเครื่องที่สอง (ผมมีคอมตั้งโต๊อยู่ 2 เครื่อง ปัจจุบันใช้ Notebook ) สเปคหลักๆนะครับ
CPU:AMD Barton 2500 (210*11=2310)
M/B:Abit A7N
Ram:1G Dual Kington
Powersupply: Enamax 465P-VE
และอุปกรณ์ตกแต่งตรึม แรกๆเครื่องก็ดีโปรแกรมหรือเกมที่ว่าหนักๆมารับได้หม ด อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดอาการ error ตามข้อนี้ พยามยามแก้แล้วแก้อีก มันไม่หายสักที่ ก็บังเอิญไปเจอบทความของคุณ A-e-e แห่ง UnlimitPC ตามลิงค์นี้ http://www.unlimitpc.com/modules.php?name=Artical&pa=showpage&pid=19 ก็ลองดูที่ ฺBios ก็เป็นจริงอย่างคุณ A-e-e ว่าไว้ ก็ไม่รอช้าจัดการตามที่คุณ A-e-e สอน เรียบร้อยหายไม่มีอาการมากวนใจอีก ต้องขอบคุณ คุณ A-e-e มา ณ ที่นี่ด้วยครับ
-1.2 ประสพการณ์ที่สอง เกิดกับคอมเครื่องแรก สเปค
CPU:AMD T-Bred 1700 (166*11=1826)(Over clock ขึ้นสมอง)
M/B:Soltek 75FRN2-RL
Ram:512MB Dual Geil
Powersupply: Enamax 351P-VE
และอุปกรณ์ตกแต่งตรึมเหมือนกัน เครื่องก็เหมือนเคยใช้ได้ไม่มีปัญหาอยู่ก็มี error แบบนี้อีก คราวนี้ไม่กลัวเข้าใจว่าคงเหมื่อนเครื่องที่แล้วตรวจ ที่ Bios ก็เป็นเหมือนเคยก็จัดการทำการแก้ไขเหมือนเคยที่แล้วม า ผลไม่หายครับเป็นอีก นั่งงมอยู่วันเต็มๆ ด้วยถอดชิ้นส่วนเครื่องทั้งหมดมาตรวจ ก็เจอปัญหาจนได้ก็คือ ตัว Capacitor ที่เมนบอร์ดตัวที่จ่ายไฟเลี้ยง CPU บวมมีขี้เกลือเกาะเต็มไปหมด
ที่เขียนมายาวก็เพื่อเล่าประสพการณ์จริงให้รู้เพื่อค ุณๆ อาจจะมีปัญหาเหมือนผมจะได้เป็นแนวทางแก้ไข
2. ให้คุณดูที่การ์ดจอว่าได้ใช้ไดร์เวอร์ตัวล่าสุด ถ้าแนใจว่าใช้ตัวล่าสุดแล้วยังมีอาการ ก็ให้ทำการ Rollback ไดร์เวอร์ตัวก่อนที่จะเกิดปัญหา
3. ตรวจดูการ์ดจอและเมนบอร์ดว่าเสียหรือไม่เช่น มีรอยไหม้, ลายวงจรขาด มีชิ้นสวนบางชิ้นหลุดจากตำแหน่งเดิม เป็นต้น
4. ดูที่ Bios ว่าส่วนของ VGA slot เลือกโหมด 4x,8x ถูกตามสเปคของการ์ดหรือไม่
5. เช็คดูที่ผู้ผลิดเมนบอร์ดว่ามีไดร์เวอร์ตัวใหม่หรือไ ม่ ถ้ามีให้โหลดลงใหม่ซะ
6. ถ้าคุณมีการ์ดแลนหรือเมนบอร์ดของคุณมี on board อยู่ให้ disable ฟังก์ชั่น “PXE Resume/Remote Wake Up” โดยไปปิดที่ BIOS

18.(stop code 0X0000007F) unexpected Kernel Mode Trap
สาเหตุและแนวทางแก้ไข:
อาการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกับนัก Overclock (ผมก็คนหนึ่ง) เป็นอาการ RAM ส่งข้อมูลให้ CPU ไม่สัมพันธ์กันคือ CPU วิ่งเร็วเกินไป หรือร้อนเกินไปสาเหตุเกิดจากการ Overclock วิธีแก้ก็คือลด clock ลงมาให้เป็นปกติ หรือ หาทางระบายความร้อนจาก CPU ให้มากที่สุด

19. (stop code 0X000000ED)Unmountable Boot Volume
สาเหตุและแนวทางแก้ไขอาการที่วินโดวส์หาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอ (ไม่ใช่ตัวบูตระบบ) ในกรณีที่คุณมีฮาร์ดดิสก์หลายตัว หนึงในนั้นคุณอาจใช้สายแพของฮาร์ดดิสก์ผิด เช่น ฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ 33MB/secound ซึ่งต้องใช้สายแพ 40 pin แต่คุณเอาแบบ 80 pin ไปต่อแทน

credit:http://www.it-guides.com/

Free Web Hosting